งานสัมมนาวิชาการ ASF: หายนะหมูอาเซียนของวงการหมูอาเซียน  

 

1.jpg

 

                               

                                

 

เรื่องที่น่าสนใจ 4 วิทยากรจากการสัมมนาวันที่ 13 มีนาคม 2562

ASF : The Disruption of ASEAN Pig Industry

Vincent Ter  Beek  : เน้นย้ำประเด็นเรื่อง Early Detection, Compensation และ Transparency สถานการณ์ของโรคทวีปยุโรปพบการเกิดโรคครั้งแรกตั้งแต่ ปี 2007 รวม 16 ประเทศ ซึ่งมี 9 ประเทศอยู่ในสหภาพยุโรป (EU)

  • 4 ประเทศ พบเฉพาะหมู่ป่า รวมทั้งประเทศ Czech Belgium โดย Belgium ยังคงสามารถส่งออกเนื้อสุกรไปยังกลุ่ม EU ได้ แต่ในประเทศในกลุ่มเอเชียห้ามนำเข้าประกอบด้วย จีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้
  • 5 ประเทศ พบเฉพาะหมูบ้าน Back yard ซึ่งการควบคุมโรคยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยจาก Romania ได้ระบาดไปยัง Bulgaria, Hungary และ Moldova  ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรในภาพรวมของทั้ง 4 ประเทศ
  • สภาพข้อเท็จจริงที่เกิดในยุโรปสรุปได้ว่าบทบาทของคนเป็นปัจจัยหลักทั้งการระบาด และการควบคุม

สถานการณ์ของโรคในทวีปเอเชียโดยทั่วไปทุกประเทศกลัว ASF มาก โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นในฟาร์มหลังบ้าน กับ ฟาร์มรายย่อย ตั้งแต่ปี 2561 มี 3 ประเทศในเอเชียที่มีการระบาด

                              1) จีน

                              2) มองโกเลีย

                              3) เวียดนาม

                   มีการระบาดที่ไม่มีการรายงานจำนวนมาก มีเกษตรกรจำนวนมากขาดความรู้ทั้งระบบ Biosecurity และการปฏิบัติหลังพบการระบาด มีการบริหารจัดการที่หละหลวมส่งผลให้มีการกระจายสู่ภายนอก การระบาดที่ประเทศจีนยังถือว่าควบคุมไม่ได้ เป็นลักษณะเดียวกับที่เกิดในเวียดนาม

  • ประเทศจีนตั้งแต่พบการเกิดโรคในเดือนสิงหาคม 2018 ถึง 13 มีนาคม 2019 มีการระบาด 116 ครั้ง ติดเชื้อ 480,000 ตัว คัดแยกเฝ้าระวังและทำลายรวม 950,000 คน คิดเป็น 0.22% ของสุกรทั้งประเทศ 441,000,000 ตัว ปัญหาที่พบ คือ การทำลายซากสุกรที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรไม่แจ้งโรคตามความเป็นจริง เนื่องจากไม่มีเงินชดเชย เกษตรกรยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ปัจจัยด้านราคาที่จูงใจให้ขายหมูไปยังที่อื่นที่ราคาสูงกว่า และการสื่อสารที่สับสนเนื่องจากประชาชนรู้ว่าสามารถบริโภคเนื้อสุกรที่เป็นโรคได้จึงมีการจำหน่ายอย่างกว้างขวางไร้การควบคุม
  • ประเทศมองโกเลียเริ่มพบการระบาดตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 ถึง 13 มีนาคม 2019 มีการระบาด 11 ครั้ง ใน 6 จังหวัด มีการทำลายสุกรจำนวนทั้งสิ้น 2,500 ตัว จากจำนวนรวม 32,000 ตัว
  • ประเทศเวียดนาม เริ่มพบการระบาดตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2019 ถึง 13 มีนาคม 2019 มีการระบาด 79 ครั้ง ใน 10 จังหวัด มีการทำลายสุกรทั้งสิ้น 6,770 ตัวจากทั้งหมด 27,000,000 ตัว
  • ความเสี่ยงการระบาดไปประเทศเพื่อนบ้านจากยูนนาน ไปเมียนม่าร์ มีระยะทาง 19 กิโลเมตร จากตอนกลางของประเทศจีนไปยังตะวันตกเฉียงเหนือของ สปป.ลาว มีระยะทาง 95 กิโลเมตร จากเวียดนามไปยังลาวมีระยะทาง 48 กิโลเมตร และจากเวียดนามไปยังประเทศไทยบริเวณจังหวัดบึงกาฬมีระยะทาง 245 กิโลเมตร
  • สรุปภาพรวมปัญหาของการระบาดในอาเซียนคือ พบการระบาดส่วนมากในฟาร์ม Back yard ยังไม่มีการแจ้งโรคเป็นจำนวนมาก การขาดความรู้ของเกษตรกร และ การจัดการ ควบคุมการแพร่ระบาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ

Vincent Ter Beek ฝากให้ไปพิจารณากันต่อ

ASF จะเป็นโรคระบาดที่กระจายวงกว้างขึ้นในเอเชีย เป็นไวรัสที่สร้างทั้งความเจ็บป่วยและเจ็บปวดมากทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์เป็นบทบาทหลักและมีผลมากในแง่ของการควบคุมและการกระจายตัวของการระบาด

  • Key Words สำหรับการต่อสู้กับ ASF: ความโปร่งใส ค­วามสุจริตจริงใจ การสื่อสาร การตื่นตัว และ ความร่วมมือ
  • ประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมตัวที่พร้อมที่สุด
  • ถ้ามีสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้น (โดย Vincent Ter Beek มองว่าประเทศไทยจะมีการระบาดแน่นอน) จะมีทั้งผู้ชนะ และ ผู้แพ้ ....แต่ประเทศไทยเสียหายใหญ่หลวง

 

Dr.Nadezhda Konovalova

  • การระบาดพบใน domestic pigs
  • Stamping out policy ประมาณค่าใช้จ่ายในการทำลายสุกรขุน 20,000 ตัวประมาณ 2.7 ล้านดอลลาร์

รายย่อย-รายกลาง

  • การทำลายสุกรจะใช้วิธีการฉีดยา (poison injection)
  • ฟาร์มรายย่อยใช้ฝังทำลายซาก รายกลางรายใหญ่ใช้วิธีเผาไฟ ทำลายซาก (burn pit)
  • การฆ่าเชื้อยานพาหนะในบริเวณจุดฝังหรือเผาทำลายซาก
  • กำหนดเขตโรคระบาด ให้ความรู้แก่ประชาชน เกษตรกรในบริเวณเขตโรคระบาด
  • รัฐบาลดำเนินการทำลาย และขุดหลุมฝังโดยมีการโรยปูนขาวในอัตราส่วน 10 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร (มีการเปิดผ่าท้องสุกรในหลุมเพื่อป้องกันการระเบิดเนื่องจากแก๊สในตัวสัตว์)
  • รัฐบาลทำลายเชื้อโรคที่คอกเลี้ยงสุกรของเกษตรกรภายหลังกำจัดหมูทั้งหมด
  • การกำจัด manure ในฟาร์มที่เกิดโรค การขนย้ายดินจากฟาร์มที่เป็นโรคออกไปทำลาย หลังจากนั้นใช้ calcium hypochlorite 2 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร และใช้น้ำ 10 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร พ่นบริเวณที่โรยปูนขาว
  • การพ่นยาฆ่าเชื้อทุกวันในถนนที่ใช้สัญจรในบริเวณเขตโรคระบาดในอัตราส่วน calcium hypochlorite 1 ลิตร ต่อ 1 ตารางเมตร
  • การเผาทำลายฟาร์มที่เป็นโรค (รายย่อย)
  • การทำลายเชื้อโรคในคอกสุกรด้วย calcium hypochlorite และในบริเวณ manure lagoon (10 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร)
  • การพ่นทำลายเชื้อโรคที่จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ
  • การควบคุมที่สนามบิน

รายใหญ่

  • รายงานพบโรคภายใน 24 ชั่วโมง
  • Early detection
  • หยุดเคลื่อนย้ายสุกรทุกตัวในฟาร์ม รวมทั้งคนงานด้วย
  • ส่งตัวอย่างตรวจ PCR ใช้เวลาตรวจเบื้องต้น 6-10 ชั่วโมง โดยตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการของชาติ (Pokrov national lab)
  • การปฏิบัติตามแผนการทำลายสัตว์
  • จัดเตรียมสถานที่เผาทำลายขนาด 230 x 6 เมตร อีก 6 เมตร
  • การทำลายเชื้อโรคในโรงเรือนใช้ผลิตภัณฑ์ DuPont Virkon S Tablets ดูปองท์
  • ทำลายเชื้อด้วยปูนขาวบริเวณถนนที่ใช้ขนส่งหมูไปทำลายและบริเวณที่ทำลายซาก

สรุปมาตรการขั้นตอนหลักทำลายสัตว์ (stamping out)

  • ลงพื้นที่กระจายการตรวจภายใน 48 ชั่วโมง หลังมีรายงานระบาดในพื้นที่
  • เมื่อตรวจพบโรคห้ามเคลื่อนย้าย 30 วัน
  • ระยะพักเล้า 8 เดือน จึงทำการทดสอบทางชีวภาพ (Bioassay / Biological test) 2 ครั้ง ก่อนการฆ่าเชื้อครั้งสุดท้าย
  • ใช้ sentinel 40 วัน

 

Dr.Roman Navratil, DVN Czech Republic

การจัดการด้านสัตว์ของประเทศของ Czech Republic

  •  จะมีกฎหมายของกระทรวงเกษตร Veterinary Act No.166/1999(2542) โดยเน้นการปกป้องผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่จะเป็นผลอันตรายกับสุขภาพของคน กำกับดูแลสุขภาพสัตว์ สัตวแพทย์ ดูแลสวัสดิภาพและคุ้มครองสัตว์
  • มีการระบาดเฉพาะหมูป่า ทำแนวรั้วรอบในของพื้นที่ระบาด และพื้นที่การกำจัดหมูป่าในเขตวงนอกที่ขยายออก

มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มรายย่อยและฟาร์มหลังบ้าน ที่ไม่เป็นเชิงพาณิชย์ของ Czech Republic

  • ห้ามนำอาหารเหลือจากครัวสาธารณะทั่วไป และ เศษอาหารจากครัวเรือน และผลพลอยได้จากสัตว์ ตามข้อกำหนด EU regulation (EU) No. 1069/2009.
  • ห้ามมีการสัมผัสระหว่างหมูเลี้ยงกับหมูป่า รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ของหมูป่า
  • เปลี่ยนรองเท้า เสื้อผ้า ทั้งการเข้าและออกจากฟาร์ม
  • ห้ามคนเข้าไปสัมผัสหมู รวมถึงหมูป่าที่ถูกล่า ระหว่าง 48 ชั่วโมงหลังมีการระบาด
  • โรงฆ่าในเขตการระบาดจะได้รับแจ้งล่วงหน้า 3 วัน ให้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐด้านสัตว์แพทย์
  • การเคลื่อนย้ายสุกรในโซนการระบาดจะต้องได้รับการอนุมัติก่อน

มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มเชิงพาณิชย์ของ Czech Republic

  • ใช้ข้อกำหนดแบบเดียวกับฟาร์มฟาร์มรายย่อยและฟาร์มหลังบ้าน โดยเพิ่มเติม
  • จัดทำรั้วป้องกันการเข้ามาจากสัตว์ภายนอก
  • ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • ปฏิบัติตามระเบียบทางสัตวบาลอย่างเคร่งครัด การขนส่งเคลื่อนย้ายสุกรชุดใหม่เข้าเลี้ยงในฟาร์ม
  • ให้กำหนดรายละเอียดให้ผู้ปฏิบัติ ดำเนินการในการฆ่าเชื้อยานพาหนะ การจัดการสิ่งปนเปื้อนและข้อปฏิบัติสุขอนามัยบุคลากรเข้าออกฟาร์ม
  • ห้ามนำเนื้อสุกร และอาหารที่มีเนื้อสุกรเป็นส่วนประกอบจากภายนอกเข้ามาในฟาร์ม
  • เก็บบันทึกข้อมูลบุคลากรเข้าออกโรงเรือนสุกร
  • จัดโปรแกรมอบรมบุคลากรในฟาร์ม และอบรมซ้ำเพื่อย้ำความเข้าใจของการปฏิบัติ

ความสำเร็จของ Czech Republic

  •  มีโปรแกรมการตรวจตรา ASF สม่ำเสมอ
  • ความร่วมจากทุกฝ่าย ตำรวจ ทหาร
  • มีการจำลองสถานการณ์การติดเชื้อและระบาด
  • การให้ความร่วมมือระดับเทศบาลท้องถิ่น เอกชนชมรมการล่าสัตว์
  • การกระจายอำนาจ กฎหมายเข้มงวด กำหนดบทลงโทษสูง

 

ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล

  • หลังการระบาดใหญ่ของ PRRS ในปี  2549 โครงสร้างฟาร์มสุกรในจีนเปลี่ยนไป มีฟาร์มขนาดใหญ่มากขึ้นในรูปของบริษัท
  • จากปี 2556 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบฟาร์มเป็นรูปแบบในลักษณะเดียวกับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฟาร์มขนาดใหญ่รูปบริษัทเพิ่มขึ้น มีการลงทุนฟาร์มครบวงจรและหน้าร้านจำหน่ายเนื้อสุกรมากขึ้น
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศจีน

            -   ส่วนหนึ่งจากคุณสมบัติของเชื้อ การกระจายในส่วนของเลือด

           -    อุปนิสัย พฤติกรรมและวัฒนธรรม ในการบริโภคหมู

           -    การขนส่งที่รวดเร็ว ราคาถูก

           -   การบริโภคหมูจำนวนมหาศาลภายในประเทศ

  • Epidemiology cycle of AFS

              -  Sylvatic cycle : หมูป่า-เห็บอ่อน

              -  Tick-pig cycle : เห็บอ่อน-หมูบ้าน

              -  Domestic cycle : หมูบ้าน-ผลิตภัณฑ์

              -  Wild boar-habitat cycle : ผลิตภัณฑ์-หมูป่า-สิ่งแวดล้อม

  • ต้องเพิ่มการปฏิบัติตามหลัก Biosecurity อย่างเคร่งครัด ที่ผ่านมาการมีวัคซีนในโรคอื่นๆ ทำให้เกิดการหละหลวมในระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ส่งผลกระทบกับการระบาดของ ASF
  • การปรับปรุงประตูทางเข้าฟาร์ม ทำพื้นคอนกรีตโดยรอบสำหรับพื้นที่ เอนกประสงค์หน้าฟาร์มโดยต้องไม่ให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ฟาร์ม
  • บริเวณทางเข้าประตูฟาร์ม พื้นที่ฟาร์มทำเป็นพื้นซีเมนต์
  • ให้เปลี่ยนรองเท้าที่จุดผ่านพร้อมสเปย์ยาฆ่าเชื้อ
  • จุดขายเป็นจุดหลักที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ห่างตัวฟาร์ม ไม่ให้น้ำชะล้างไหลกลับสูฟาร์ม
  • ทำความสะอาดชุดฟอร์ม รองเท้าทุกวัน โดยรองเท้าต้องเพิ่มความถี่ในการล้างฆ่าเชื้อ
  •  เนื้อหมู ผลิตภัณฑ์หมู ห้ามเข้าฟาร์มเด็ดขาด
  • พื้นที่โซนเลี้ยงปรับสถานะความปลอดภัยสูงสุดจากเชื้อโรค ห้ามบุคคลภายนอกเด็ดขาด เข้มงวดห่วงโซ่อาหาร

เชื้อคงทนสูง อยู่ในเลือดปริมาณมาก แพร่โรคต่อได้อย่างคิดไม่ถึงSource of transmission; carcass, dead pig, blood, offal, body fluid

     -  ไม่มีวัคซีนใช้ หมูเราจะมีความคุ้มโรคเป็นศูนย์ ต้องไม่ให้เชื้อ ติดเข้ามาในฟาร์มป้องกันสถานเดียว ทอนเชื้อให้ลดลง ผ่านหลายด่านจนเชื้อหมดก่อนถึงตัวหมู

     -  ทำค่ายกล ฝึกฝนจนใช้คล่อง เข้าใจลึกซึ่งว่าเชื้อจะเข้าอย่างไร จะเข้าทางช่องไหน อุดรูรั่ว อุดช่องว่างให้หมด

     -  จุดสำคัญที่ต้องย้ำ เสี่ยงมากๆ และเชื้อเข้าหลักช่องทางนี้ คือ

              ก.เล้าขาย(หรือการจับหมูขายขึ้นรถจับหมู)

              ข.ประตูฟาร์ม คน-รถ-อุปกรณ์-อาหาร ขนเข้าออก

              ค.การเชื่อมต่อ ระหว่างโซนเลี้ยงหมูกับโซนออฟฟิศ

       

           

 

 อ่านเพิ่มเติมได้ที่  >>    https://www.swinethailand.com/17082528/สรุปเรื่องที่น่าสนใจ-4-วิทยากรจากการสัมมนาวันที่-13-มีนาคม-2562-asf-the-disruption-of-asean-pig-industry

แหล่งที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ >> https://www.swinethailand.com/