ข่าวประชาสัมพันธ์

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำ…

25 ส.ค. 2565

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ ณ กรุงเทพฯ

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ ณ กรุงเทพฯ เต็มอิ่มกับ 3 วันเพื่อการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแบบตัวต่อตัวในเอเชีย งาน VICTAM Asia (วิคแทม เอเชีย) ที่จัดร่วมกับงาน Health & Nutrition Asia (เฮลท์ แอนด์ นิวทริชัน เอเชีย) 

Read more

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์…

09 ส.ค. 2565

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์สุขอนามัยสัตว์บก

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มีกำหนดจัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์สุขอนามัยสัตว์บก ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 

Read more
  • ราคาวัตถุดิบ

    ประเภทวัตถุดิบ

    ประจำเดือน มิถุนายน 2565

    (บาท : กก)

    ที่มา : สมาคมผู้ผลิต

    อาหารสัตว์ไทย 

    ข้าวโพด         13.12    บาท/กก.
    รำสด         12.03    บาท/กก. 
    กากรำสกัดน้ำมัน           9.80    บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง ต่างประเทศ         21.73       บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง          21.73     บาท/กก.
    ปลายข้าว         13.48    บาท/กก.
    ปลาป่น         42.10    บาท/กก.
    ปลาป่น เกรดกุ้ง

            53.00    บาท/กก.

    มันเส้น          9.35    บาท/กก.
  • ราคาพันธุ์

             พันธุ์สัตว์                       

    สัปดาห์ที่ 1 เดือนสิงหาคมกรกฎาคม 2565

    ที่มา : กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

    ลูกไก่เนื้อ       19.50    บาท/ตัว
    ไก่เนื้อ        48.00    บาท/กก.
    ไก่ไข่รุ่น       160.00    บาท/ตัว
    ลูกไก่ไข่       26.00    บาท/ตัว
    ลูกเป็ดเนื้อ       30.54    บาท/ตัว
    เป็ดเนื้อ       73.29    บาท/กก.
    ลูกเป็ดไข่       25.00    บาท/ตัว
    เป็ดไข่      145.00   บาท/กก
    แพะ      121.45   บาท/กก.
    โคเนื้อ        94.09  บาท/กก.
    กระบือ        94.88  บาท/กก.
    น้ำนมดิบ

           18.25   บาท/กก.

  • ราคาเนื้อสุกร
    สุกร 

    วันพระที่ 5 สิงหาคม 2565

    ที่มา :สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

    ภาคตะวันตก 100.00 บาท/กก.
    ภาคตะวันออก
     100.00  บาท/กก.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    
     100.00  บาท/กก.
    ภาคเหนือ
    100.00  บาท/กก.
    ภาคใต้
    100.00  บาท/กก.
    เฉลี่ยทั่วประเทศ
    100.00  บาท/กก. 
    ลูกสุกร 16 กก. 3,600  บาท/ตัว 

     

  • ราคาไข่ไก่
    ราคาไข่ / เบอร์

    ราคา ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2565

    ที่มา กรมการค้าภายใน

    เบอร์ 0 
    4.25 บาท/ฟอง
    เบอร์ 1
    4.05 บาท/ฟอง
    เบอร์ 2
    3.85 บาท/ฟอง
    เบอร์ 3
    3.60 บาท/ฟอง
    เบอร์ 4
    3.35 บาท/ฟอง
    เบอร์ 5
    3.15 บาท/ฟอง
    ไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิต
    3.50 บาท/ฟอง

     

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันควบคุมโรคและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร กรมปศุสัตว์ได้รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในประเทศไทย
โดยจากการสำรวจข้อมูลของกรมปศุสัตว์ สถานการณ์การระบาดของโรค ASF สะสมทั่วโลก พบการระบาดทั้งหมด 42 ประเทศ 4 ทวีป ประกอบด้วย ทวีปยุโรบ 17 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 8 ประเทศ โอเชียเนีย 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 16 ประเทศ
ซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ จากมาตรการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 - ปัจจุบัน
 
พบการระบาดแล้วทั้งสิ้น 30 จังหวัด โดยมีถึง 26 จังหวัดที่สามารถควบคุมโรค และตรวจซ้ำไม่เจอโรคแล้วมากกว่า 30 วัน ซึ่งในภาพรวมขณะนี้ในประเทศไทยสามารถควบคุมและกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการออกมาตรการต่างๆ พร้อมสนับสนุนการกลับมาเลี้ยงใหม่ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการแล้ว
สำหรับแนวทางที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการฟาร์มสุกรจะกลับมาเลี้ยงใหม่นั้น กรมปศุสัตว์ได้มีข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับทุกฟาร์ม โดยให้เกษตรกรต้องเข้ารับการอบรมการเลี้ยงและป้องกันโรค ปีละ 1 ครั้ง ในรัศมี 5 กิโลเมตร ต้องไม่มีรายงานโรคอย่างน้อย 30 วัน ระบบฟาร์มต้องเป็น “ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม” (Good Farming Management ; GFM) ขึ้นไป และจะมีเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์เข้าไปประเมินความเสี่ยง ฟาร์มทั่วไปต้องได้ 60 คะแนนขึ้นไป ฟาร์มที่เคยพบโรคหรือมีความเชื่อมโยงโดยตรง ต้องได้คะแนน 80 ขึ้นไป
นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับฟาร์มกลุ่มเสี่ยงทั้งที่เคยพบผลบวกหรือมีผลเป็นลบแต่มีความเสี่ยง จำเป็นจะต้องพักฟาร์มไม่น้อยกว่า 90 วัน และเริ่มเลี้ยงสุกรได้ ร้อยละ 10 – 15 เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และเก็บตัวอย่าง หากไม่มีการะบาดของโรคก็สามารถเลี้ยงได้ตามปกติ
กรมปศุสัตว์ยังได้ร่วมกับหน่วยงานมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ สำรวจจำนวนสุกรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 พบว่ามีจำนวนสุกรแม่พันธ์ ประมาณ 1 ล้านตัวในระบบ โดยปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศอยู่ที่เดือนละ 1.5 ล้านตัว และจากผลการสำรวจสุกรขุน ในแต่ละเดือนประมาณ 9 ล้านตัว ตามรอบการผลิตสุกรขุน ประมาณ 6 เดือน ดังนั้นต้องขอเน้นย้ำกับประชาชน ปริมาณสุกรขุนมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูหมูป่า(เพิ่มเติม) โดยได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์เตรียมข้อมูลให้พร้อมเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในปีงบประมาณต่อไป
 
ข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวแวดวงปศุสัตว์

ข่าวบิดเบือน!!!  รัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้ออหิวาห์แอฟริกามาขายให้ประชาชนในราคาถูก

ข่าวบิดเบือน!!! รัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้…

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่ารัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้ออหิวาห์แอฟริกามาขายให้ประชาชนในราคาถูก ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข่าวที่แชร์กันในโซเชียลน่าจะสืบเนื่องจากมีการอภิปรายไม่ใว้วางใจรัฐบาล โดย สส. ฝ่ายค้านอภิปรายว่า รัฐบาลเอาหมูเป็นโรคตาย มาขายให้ประช...

Read more
ปศุสัตว์ยกระดับบริการด้านอาหารสัตว์ และวัตถุอันตราย

ปศุสัตว์ยกระดับบริการด้านอาหารสัตว์ และว…

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานภาครัฐ 4.0 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มายกระดับการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ เพื่อให้บริการได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน อำนวย...

Read more
ปศุสัตว์ จับมือเกาหลีใต้ บริหารใบรับรองผ่าน Blockchain

ปศุสัตว์ จับมือเกาหลีใต้ บริหารใบรับรองผ…

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการตรวจประเมินระบบด้านความปลอดภัยอาหารของหน่วยงานกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (Ministry of Food and Drug Safety of the Republic of Korea :MFDS) สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในประเทศไทยช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2565 เกาหลีใต้มีความเชื่อมั่นในระบบกา...

Read more