ข่าวประชาสัมพันธ์

ประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 12…

11 เม.ย. 2567

สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาคีเครือข่ายสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 12 ในวันที่ 31กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเมธาวลัย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ...

Read more

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำ…

25 ส.ค. 2565

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ ณ กรุงเทพฯ เต็มอิ่มกับ 3 วันเพื่อการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแบบตัวต่อตัวในเอเชีย งาน VICTAM Asia (วิคแทม เอเชีย) ที่จัดร่วมกับงาน Health & Nutrition Asia (เฮลท์ แอนด์ นิวทริชัน เอเชีย)  ...

Read more
  • ราคาวัตถุดิบ

    ประเภทวัตถุดิบ

    ประจำเดือน มิถุนายน 2565

    (บาท : กก)

    ที่มา : สมาคมผู้ผลิต

    อาหารสัตว์ไทย 

    ข้าวโพด         13.12    บาท/กก.
    รำสด         12.03    บาท/กก. 
    กากรำสกัดน้ำมัน           9.80    บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง ต่างประเทศ         21.73       บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง          21.73     บาท/กก.
    ปลายข้าว         13.48    บาท/กก.
    ปลาป่น         42.10    บาท/กก.
    ปลาป่น เกรดกุ้ง

            53.00    บาท/กก.

    มันเส้น          9.35    บาท/กก.
  • ราคาพันธุ์

             พันธุ์สัตว์                       

    สัปดาห์ที่ 1 เดือนสิงหาคมกรกฎาคม 2565

    ที่มา : กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

    ลูกไก่เนื้อ       19.50    บาท/ตัว
    ไก่เนื้อ        48.00    บาท/กก.
    ไก่ไข่รุ่น       160.00    บาท/ตัว
    ลูกไก่ไข่       26.00    บาท/ตัว
    ลูกเป็ดเนื้อ       30.54    บาท/ตัว
    เป็ดเนื้อ       73.29    บาท/กก.
    ลูกเป็ดไข่       25.00    บาท/ตัว
    เป็ดไข่      145.00   บาท/กก
    แพะ      121.45   บาท/กก.
    โคเนื้อ        94.09  บาท/กก.
    กระบือ        94.88  บาท/กก.
    น้ำนมดิบ

           18.25   บาท/กก.

  • ราคาเนื้อสุกร
    สุกร 

    วันพระที่ 5 สิงหาคม 2565

    ที่มา :สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

    ภาคตะวันตก 100.00 บาท/กก.
    ภาคตะวันออก
     100.00  บาท/กก.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    
     100.00  บาท/กก.
    ภาคเหนือ
    100.00  บาท/กก.
    ภาคใต้
    100.00  บาท/กก.
    เฉลี่ยทั่วประเทศ
    100.00  บาท/กก. 
    ลูกสุกร 16 กก. 3,600  บาท/ตัว 

     

  • ราคาไข่ไก่
    ราคาไข่ / เบอร์

    ราคา ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2565

    ที่มา กรมการค้าภายใน

    เบอร์ 0 
    4.25 บาท/ฟอง
    เบอร์ 1
    4.05 บาท/ฟอง
    เบอร์ 2
    3.85 บาท/ฟอง
    เบอร์ 3
    3.60 บาท/ฟอง
    เบอร์ 4
    3.35 บาท/ฟอง
    เบอร์ 5
    3.15 บาท/ฟอง
    ไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิต
    3.50 บาท/ฟอง

     

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ทำให้สัตว์สุขภาพอ่อนแอและป่วยง่าย
 
วันที่ 18 พ.ค.65 ​นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก บางพื้นที่น้ำท่วมขังและเปียกชื้นโดยพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้สัตว์อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอบวม นอกจากนี้สัตว์ยังมีโอกาสติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนได้ เช่น โรคไข้สามวัน
 
 
​อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคไข้สามวัน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ โดยสัตว์จะติดเชื้อไวรัสผ่านแมลงดูดเลือด เช่น ยุง แมลงวัน เห็บ สัตว์ป่วยจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-4 วัน อาการของโรคจะพบได้แตกต่างกันไปในแต่ละตัว โดยอาการแรกที่พบสัตว์จะมีไข้สูง ขึ้นๆลงๆ ซึม ไม่อยากเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามอาการของสัตว์จะเริ่มชัดเจนขึ้นโดยจะพบเห็นว่าสัตว์เบื่ออาหาร กล้ามเนื้อสั่น ขาแข็ง ขาเจ็บ เดินลำบาก มีน้ำมูก น้ำลายไหล สัตว์บางรายอาจะพบการบวมน้ำบริเวณคอหรือไหล่ หายใจลำบาก ปอดบวม ลุกลำบาก หรือนอนไม่ยอมลุก พบอาการท้องอืดได้กรณีที่สัตว์นอนนานๆ อย่างไรก็ตามสัตว์ส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้น 1-2 วันหลังเริ่มแสดงอาการ และจะฟื้นตัวสมบูรณ์อีกประมาณ 1-2 วัน ซึ่งโคนมอาจใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าจะกลับมาให้น้ำนมปกติ โรคนี้มักพบอาการแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น เส้นประสาทขาหลัง เป็นอัมพาต เต้านมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
 
โดยเชื้อไวรัสนี้ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ตาย แต่สาเหตุการตาย เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคปอด ซึ่งวิธีการรักษาเป็นแบบรักษาตามอาการ ไม่มียารักษาโดยตรง ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนร่วมกับยาบำรุง สัตว์ที่ขาเจ็บและลุกไม่ขึ้น จะต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม โดยควรนอนในที่ที่มีสิ่งปูรองที่นุ่มและมีการช่วยพลิกตัวหรือพยุงตัวสัตว์ในแต่ละวัน ทั้งนี้การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ ให้ความสำคัญกับการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องการจัดการโรงเรือน หรือคอกสัตว์ มีหลังคาป้องกันฝน ลม ได้เป็นอย่างดี ติดมุ้ง หรือหลอดไฟเพื่อป้องกันแมลงพาหะ มีวัสดุปูรองคอกเลี้ยงสัตว์ จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น วิตามิน ให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรทำความสะอาดโรงเรือน หรือคอกสัตว์ และพ่นทำลายเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์คอยสังเกตอาการของสัตว์ เป็นประจำ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที หรือแจ้งได้ที่ call center โทร. 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0
 
ข้อมูล : สยามรัฐ

ข่าวแวดวงปศุสัตว์

ข่าวบิดเบือน!!! รัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้…

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่ารัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้ออหิวาห์แอฟริกามาขายให้ประชาชนในราคาถูก ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข่าวที่แชร์กันในโซเชียลน่าจะสืบเนื่องจากมีการอภิปรายไม่ใว้วางใจรัฐบาล โดย สส. ฝ่ายค้านอภิปรายว่า รัฐบาลเอาหมูเป็นโรคตาย มาขายให้ประช...

Read more

ปศุสัตว์ยกระดับบริการด้านอาหารสัตว์ และว…

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานภาครัฐ 4.0 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มายกระดับการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ เพื่อให้บริการได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน อำนวย...

Read more

ปศุสัตว์ จับมือเกาหลีใต้ บริหารใบรับรองผ…

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการตรวจประเมินระบบด้านความปลอดภัยอาหารของหน่วยงานกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (Ministry of Food and Drug Safety of the Republic of Korea :MFDS) สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในประเทศไทยช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2565 เกาหลีใต้มีความเชื่อมั่นในระบบกา...

Read more