ข่าวประชาสัมพันธ์

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำ…

25 ส.ค. 2565

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ ณ กรุงเทพฯ

งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ ณ กรุงเทพฯ เต็มอิ่มกับ 3 วันเพื่อการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแบบตัวต่อตัวในเอเชีย งาน VICTAM Asia (วิคแทม เอเชีย) ที่จัดร่วมกับงาน Health & Nutrition Asia (เฮลท์ แอนด์ นิวทริชัน เอเชีย) 

Read more

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์…

09 ส.ค. 2565

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์สุขอนามัยสัตว์บก

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มีกำหนดจัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง อภิธานศัพท์สุขอนามัยสัตว์บก ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 

Read more
  • ราคาวัตถุดิบ

    ประเภทวัตถุดิบ

    ประจำเดือน มิถุนายน 2565

    (บาท : กก)

    ที่มา : สมาคมผู้ผลิต

    อาหารสัตว์ไทย 

    ข้าวโพด         13.12    บาท/กก.
    รำสด         12.03    บาท/กก. 
    กากรำสกัดน้ำมัน           9.80    บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง ต่างประเทศ         21.73       บาท/กก.
    กากถั่วเหลือง          21.73     บาท/กก.
    ปลายข้าว         13.48    บาท/กก.
    ปลาป่น         42.10    บาท/กก.
    ปลาป่น เกรดกุ้ง

            53.00    บาท/กก.

    มันเส้น          9.35    บาท/กก.
  • ราคาพันธุ์

             พันธุ์สัตว์                       

    สัปดาห์ที่ 1 เดือนสิงหาคมกรกฎาคม 2565

    ที่มา : กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

    ลูกไก่เนื้อ       19.50    บาท/ตัว
    ไก่เนื้อ        48.00    บาท/กก.
    ไก่ไข่รุ่น       160.00    บาท/ตัว
    ลูกไก่ไข่       26.00    บาท/ตัว
    ลูกเป็ดเนื้อ       30.54    บาท/ตัว
    เป็ดเนื้อ       73.29    บาท/กก.
    ลูกเป็ดไข่       25.00    บาท/ตัว
    เป็ดไข่      145.00   บาท/กก
    แพะ      121.45   บาท/กก.
    โคเนื้อ        94.09  บาท/กก.
    กระบือ        94.88  บาท/กก.
    น้ำนมดิบ

           18.25   บาท/กก.

  • ราคาเนื้อสุกร
    สุกร 

    วันพระที่ 5 สิงหาคม 2565

    ที่มา :สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

    ภาคตะวันตก 100.00 บาท/กก.
    ภาคตะวันออก
     100.00  บาท/กก.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    
     100.00  บาท/กก.
    ภาคเหนือ
    100.00  บาท/กก.
    ภาคใต้
    100.00  บาท/กก.
    เฉลี่ยทั่วประเทศ
    100.00  บาท/กก. 
    ลูกสุกร 16 กก. 3,600  บาท/ตัว 

     

  • ราคาไข่ไก่
    ราคาไข่ / เบอร์

    ราคา ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2565

    ที่มา กรมการค้าภายใน

    เบอร์ 0 
    4.25 บาท/ฟอง
    เบอร์ 1
    4.05 บาท/ฟอง
    เบอร์ 2
    3.85 บาท/ฟอง
    เบอร์ 3
    3.60 บาท/ฟอง
    เบอร์ 4
    3.35 บาท/ฟอง
    เบอร์ 5
    3.15 บาท/ฟอง
    ไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิต
    3.50 บาท/ฟอง

     

‘ปศุสัตว์’ ขอผู้เลี้ยงสัตว์ทุกคนเลี้ยง รัก รับผิดชอบ พาสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนกันพิษสุนัขบ้า

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ที่มุ่งให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า ไม่มีผู้เสียชีวิตและสัตว์จากโรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการร่วมมือในการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้ากับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าอันตรายติดต่อได้ทั้งสัตว์และคน เป็นแล้วไม่มีทางรักษา ทางที่ดีที่สุดคือการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคเท่านั้น จึงขอความร่วมมือผู้เลี้ยงสัตว์ทุกคนเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ รักไม่ทอดทิ้ง และพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคอันตรายติดต่อได้ในคนและสัตว์ ถึงแม้จะใช้ชื่อว่าโรคพิษสุนัขบ้า แต่สามารถติดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว เป็นต้น ในประเทศไทย สัตว์ที่พบว่ามีการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด คือ สุนัข โดยในปี พ.ศ.2564 ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล Thai Rabies Net พบว่า สุนัขพบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าสูงถึง ร้อยละ 86 จากจำนวนสัตว์ที่พบผลบวกทั้งหมด โรคนี้ติดต่อได้จากการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก นอกจากนี้ การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้ ซึ่งอาการของโรคที่พบในสัตว์ มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มแรก มีอาการประมาณ 2-3 วัน โดยสุนัขจะมีอารมณ์ และอุปนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีไข้เล็กน้อย ม่านตาขยายกว้างกว่าปกติ กินข้าว กินน้ำ ลดลง ระยะที่ 2 เป็นระยะตื่นเต้น จะเริ่มมีอาการทางระบบประสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ตื่นเต้น ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ สิ่งแปลกปลอม กัดทุกสิ่งไม่เลือก โดยไม่แสดงอาการเจ็บปวด เสียงเห่าหอนเปลี่ยนไป ตัวแข็ง บางตัวล้มชัก และระยะสุดท้าย เป็นระยะอัมพาต สุนัขจะมีคางห้อยตก ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกนอกปาก น้ำลายไหล และไม่สามารถใช้ลิ้นได้ สุนัขบางตัวอาจแสดงอาการขยอกหรือขย้อน คล้ายมีของติดลำคอ ทรงตัวไม่ได้ เริ่มเป็นอัมพาต โดยอาการอัมพาตจะเริ่มจากขาหลัง และตายในที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่สัตว์จะตาย ภายใน 10 วันหลังแสดงอาการ นอกจากนี้ พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า ยังได้ระบุถึงอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ไว้ว่าอาจแสดงอาการได้ทั้งดุร้ายหรือเซื่องซึม

เนื่องจากโรคนี้ ถ้าเป็นโรคที่ติดแล้วไม่มีทางรักษา ทางที่ดีที่สุดคือ การควบคุมและป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งตาม พรบ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้เจ้าของสัตว์ต้องจัดการให้สัตว์เลี้ยงทุกตัว ได้แก่ สุนัข และแมว ได้รับการฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ตามกำหนดเวลา โดยให้เริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุตั้งแต่ 2 – 4 เดือน จากนั้นกระตุ้นเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 1 เดือน และกระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกๆ ปี (ตามกำหนดปีละ 1 ครั้ง) สำหรับสัตว์กลุ่มอื่นๆ เช่น โค กระบือ สุกร ตามระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงและควรเน้นในการป้องกันการเข้าออกของสัตว์อื่น โดยเฉพาะสุนัข ไปยังคอกเลี้ยงสัตว์นั้นๆ แต่ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสัตว์ได้รับการฉีควัคซีนแล้ว หากถูกสัตว์สงสัยหรือสัตว์ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วน ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุดหลังถูกกัด ตามโปรแกรมที่เหมาะสมต่อไปด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการควบคุมและป้องกันโรคนี้คือ เจ้าของควรเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ ไม่ปล่อยวิ่งในที่สาธารณะ โดยขาดผู้ดูแล และไม่นำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยทิ้งให้เป็นปัญหาต่อสังคมในอนาคต และควรระมัดระวังตนเอง โดยการไม่ไปแหย่ แย่ง หยิบ ยุ่งกับสัตว์จรจัด หรือสัตว์ที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนแน่ชัด อันจะเป็นความเสี่ยงให้ได้รับโรคพิษสุนัขบ้า หรือหากถูกสุนัขหรือแมวที่สงสัยโรคพิษสุนัขบ้ากัด หรือข่วน ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่ให้สะอาด ใส่ยาแผล หากเป็นไปได้จับสัตว์สงสัยกักขังไว้ และรีบพบแพทย์ เพื่อรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อทราบและเร่งดำเนินการตรวจสอบในพื้นที่ภายใน 12 ชั่วโมง

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเทศไทยรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 มีนาคม 2565 พบรายงานสัตว์ตรวจพบให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าสะสม จำนวน 42 ตัว เฉลี่ยพบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์รายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 0.6 ตัว/วัน ส่วนใหญ่เป็นการพบโรคในสุนัข อยู่ที่ร้อยละ 98 ของสัตว์ที่พบผลบวกทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ไม่มีและไม่ทราบประวัติการมีเจ้าของ อยู่ที่ร้อยละ 89 ของสุนัขที่พบผลบวกทั้งหมด จังหวัดที่พบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด คือจังหวัดชลบุรี 29 ตัวอย่าง รองลงมาคือ จังหวัดสมุทรปราการ 3 ตัวอย่าง ซึ่งปัจจุบันพบมีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ.2565 แล้ว 1 ราย ในพื้นที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ในช่วงระยะ 1 เดือนย้อนหลัง และยังอยู่ในระยะของการเฝ้าระวังโรค ได้แก่ ชลบุรี สงขลา สมุทรปราการ อุบลราชธานี และนครสวรรค์ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และสามารถติดตามสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าได้ที่ www.thairabies.net

 

ข้อมูล : มติชน

ข่าวแวดวงปศุสัตว์

ข่าวบิดเบือน!!!  รัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้ออหิวาห์แอฟริกามาขายให้ประชาชนในราคาถูก

ข่าวบิดเบือน!!! รัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้…

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่ารัฐบาลนำเนื้อหมูติดเชื้ออหิวาห์แอฟริกามาขายให้ประชาชนในราคาถูก ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข่าวที่แชร์กันในโซเชียลน่าจะสืบเนื่องจากมีการอภิปรายไม่ใว้วางใจรัฐบาล โดย สส. ฝ่ายค้านอภิปรายว่า รัฐบาลเอาหมูเป็นโรคตาย มาขายให้ประช...

Read more
ปศุสัตว์ยกระดับบริการด้านอาหารสัตว์ และวัตถุอันตราย

ปศุสัตว์ยกระดับบริการด้านอาหารสัตว์ และว…

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานภาครัฐ 4.0 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มายกระดับการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ เพื่อให้บริการได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน อำนวย...

Read more
ปศุสัตว์ จับมือเกาหลีใต้ บริหารใบรับรองผ่าน Blockchain

ปศุสัตว์ จับมือเกาหลีใต้ บริหารใบรับรองผ…

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการตรวจประเมินระบบด้านความปลอดภัยอาหารของหน่วยงานกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (Ministry of Food and Drug Safety of the Republic of Korea :MFDS) สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในประเทศไทยช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2565 เกาหลีใต้มีความเชื่อมั่นในระบบกา...

Read more