นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) ของประเทศไทยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร มีการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบันได้มีการระบาดใน 18 ประเทศ หลายภูมิภาคทั่วโลก สำหรับทวีปเอเชียพบการระบาดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมามีรายงานการระบาดที่ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งสถานการณ์การระบาดของโรคในแต่ละประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเข้าสู่ประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว การค้าขาย การขนส่งสินค้า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่มีข้อจำกัดด้านชายแดนที่มีระยะทางยาว เป็นต้น รวมถึงความต้องการสุกรและผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ส่งผลให้มีการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรโดยนักท่องเที่ยวตามแนวชายแดน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ได้เข้มงวดจับกุมการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกร ซากสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่นักท่องเที่ยวนำมาบริโภคอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2561 จนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2562 ได้มีการตรวจยึดการลักลอบเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากสุกร 344 ครั้ง และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร 59 ตัวอย่าง
นายลักษณ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการและขับเคลื่อนมาตรการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ ประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ และภาคเอกชน และ 2) แผนการดำเนินงานและแผนใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินงาน โดยแผนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเผชิญเหตุการระบาด ระยะเผชิญเหตุการระบาด และระยะภายหลังเผชิญเหตุการระบาด ซึ่งมีแผนใช้จ่ายงบประมาณในปี 2562 - 2554 ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 148,542,900 บาท
นอกจากนี้ การดำเนินการตามแผนเตรียมความพร้อมดังกล่าว ยังแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน โดยจะดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค และระยะยาว โดยจะยกระดับมาตรการการควบคุมป้องกันโรคให้มีมาตรฐานสากล โดยจัดสร้างโรงทำลายซากสัตว์ติดเชื้อ เนื่องจากเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีความคงทนในสภาพแวดล้อมสูง อีกทั้งหากทำลายโดยการฝังจะต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและการดำเนินการทำลายเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีโอกาสที่เชื้อจะตกค้างและแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม หรือหากทำลายโดยวิธีการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีวิธีการกำจัดซากที่ติดเชื้ออย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว อีกทั้งหากกรณีไม่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ยังสามารถใช้ในการกำจัดซากสัตว์ติดเชื้อของโรคระบาดอื่น ๆ ได้อีกด้วย จึงถือเป็นมาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืน
"ขอยืนยันว่า ยังไม่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโรคดังกล่าวจะไม่ติดต่อสู่คน แต่โรคนี้มีความรุนแรงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรฯ จึงได้มีการประกาศเขตเฝ้าระวังในพื้นที่เขตจังหวัดชายแดนทั้งหมด 16 จังหวัดทั่วประเทศ และแผนการดำเนินการป้องกันโรคดังกล่าว ยังได้นำสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงเกษตรฯ จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถสกัดกั้นโรคนี้ไม่ให้เข้ามาสู่ประเทศไทยได้" นายลักษณ์ กล่าว
อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/iq03/2980212
ครม. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแล้ว ล่าสุดระบาดจากจีน สู่เวียดนาม เข้ากัมพูชา โรคนี้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสุกร หากติดเชื้อไวรัสพาหะ อัตราการตายของสุกรเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเตรียมพร้อมเต็มที่ป้องกันความเสียหายต่อเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้นำเสนอให้ครม. พิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) แพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน พบการระบาดใน 17 ประเทศได้แก่ ทวีปยุโรป 10 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และทวีปเอเชีย 4 ประเทศ โดยในทวีปเอเซียมีรายงานการระบาดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 61 ต่อมาพบที่ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ล่าสุดพบในราชอาณาจักรกัมพูชาแล้ว มีรายงานการทำลายสุกรในจีน 950,000 ตัว มองโกเลีย 2,992 ตัว เวียดนาม 46,600 ตัว ส่วนที่กัมพูชาเพิ่งพบการติดเชื้อ ประมาณการความเสียหายเบื้องต้นมูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท
ครม. อนุมัติแผนใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรควงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 148,542,900 บาท โดยปีงบประมาณ 62 เป็นเงิน 53,604,900 บาท ใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในปีงบประมาณ 63 เป็นเงิน 52,419,000 บาท และปีงบประมาณ 64 เป็นเงิน 42,519,000 บาท โดยดำเนินการระยะเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค สำหรับระยะยาวให้ยกระดับมาตรการการควบคุมป้องกันโรคให้มีมาตรฐานสากล โดยจัดสร้างโรงทำลายซากสัตว์ติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อ ASF คงทนในสภาพแวดล้อมสูง อีกทั้งหากทำลายโดยการฝังจะต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและการดำเนินการทำลายเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีโอกาสที่เชื้อจะตกค้างและแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม หรือหากทำลายโดยวิธีการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีวิธีการกำจัดซากที่ติดเชื้ออย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> http://www.dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/341-news-hotissue/19051-hotissue-25620409-1
แหล่งที่มา : เว็บไซต์กรมปศุสัตว์
การประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 2/2562
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ทางสมาคมสัตวบาลฯได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม ครั้งที่ 2/2562 ซึ่งได้จัดประชุมสัญจร ณ กลุ่มบริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด ถ.พระราม ๒ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่ผ่านมา มีการเยี่ยมชมโรงงานของกลุ่มบริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด ในช่วงเช้า และในช่วงบ่ายเป็นการประชุมคณะกรรมการสมาคมซึ่งในการประชุมมีวาระการประชุมที่สำคัญอยู่หลายวาระ และเมื่อเสร็จกิจจกรรมในช่วงบ่าย คุณชยานนท์ กฤตยาเชวง นายกสมาคมสัตวบาลฯ ได้มอบกระเช้าผลไม้และของที่ระลึกแก่ ดร.วิบูลย์ ลาภจตุพร เพื่อเป็นการขอบคุณที่ได้ให้ทางสมาคมสัตวบาลฯได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานของท่านในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
งานสัมมนาวิชาการ ASF: หายนะหมูอาเซียนของวงการหมูอาเซียน
เรื่องที่น่าสนใจ 4 วิทยากรจากการสัมมนาวันที่ 13 มีนาคม 2562
ASF : The Disruption of ASEAN Pig Industry
Vincent Ter Beek : เน้นย้ำประเด็นเรื่อง Early Detection, Compensation และ Transparency สถานการณ์ของโรคทวีปยุโรปพบการเกิดโรคครั้งแรกตั้งแต่ ปี 2007 รวม 16 ประเทศ ซึ่งมี 9 ประเทศอยู่ในสหภาพยุโรป (EU)
สถานการณ์ของโรคในทวีปเอเชียโดยทั่วไปทุกประเทศกลัว ASF มาก โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นในฟาร์มหลังบ้าน กับ ฟาร์มรายย่อย ตั้งแต่ปี 2561 มี 3 ประเทศในเอเชียที่มีการระบาด
1) จีน
2) มองโกเลีย
3) เวียดนาม
มีการระบาดที่ไม่มีการรายงานจำนวนมาก มีเกษตรกรจำนวนมากขาดความรู้ทั้งระบบ Biosecurity และการปฏิบัติหลังพบการระบาด มีการบริหารจัดการที่หละหลวมส่งผลให้มีการกระจายสู่ภายนอก การระบาดที่ประเทศจีนยังถือว่าควบคุมไม่ได้ เป็นลักษณะเดียวกับที่เกิดในเวียดนาม
Vincent Ter Beek ฝากให้ไปพิจารณากันต่อ
ASF จะเป็นโรคระบาดที่กระจายวงกว้างขึ้นในเอเชีย เป็นไวรัสที่สร้างทั้งความเจ็บป่วยและเจ็บปวดมากทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์เป็นบทบาทหลักและมีผลมากในแง่ของการควบคุมและการกระจายตัวของการระบาด
Dr.Nadezhda Konovalova
รายย่อย-รายกลาง
รายใหญ่
สรุปมาตรการขั้นตอนหลักทำลายสัตว์ (stamping out)
Dr.Roman Navratil, DVN Czech Republic
การจัดการด้านสัตว์ของประเทศของ Czech Republic
มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มรายย่อยและฟาร์มหลังบ้าน ที่ไม่เป็นเชิงพาณิชย์ของ Czech Republic
มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มเชิงพาณิชย์ของ Czech Republic
ความสำเร็จของ Czech Republic
ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีระกุล
- ส่วนหนึ่งจากคุณสมบัติของเชื้อ การกระจายในส่วนของเลือด
- อุปนิสัย พฤติกรรมและวัฒนธรรม ในการบริโภคหมู
- การขนส่งที่รวดเร็ว ราคาถูก
- การบริโภคหมูจำนวนมหาศาลภายในประเทศ
- Sylvatic cycle : หมูป่า-เห็บอ่อน
- Tick-pig cycle : เห็บอ่อน-หมูบ้าน
- Domestic cycle : หมูบ้าน-ผลิตภัณฑ์
- Wild boar-habitat cycle : ผลิตภัณฑ์-หมูป่า-สิ่งแวดล้อม
เชื้อคงทนสูง อยู่ในเลือดปริมาณมาก แพร่โรคต่อได้อย่างคิดไม่ถึงSource of transmission; carcass, dead pig, blood, offal, body fluid
- ไม่มีวัคซีนใช้ หมูเราจะมีความคุ้มโรคเป็นศูนย์ ต้องไม่ให้เชื้อ ติดเข้ามาในฟาร์มป้องกันสถานเดียว ทอนเชื้อให้ลดลง ผ่านหลายด่านจนเชื้อหมดก่อนถึงตัวหมู
- ทำค่ายกล ฝึกฝนจนใช้คล่อง เข้าใจลึกซึ่งว่าเชื้อจะเข้าอย่างไร จะเข้าทางช่องไหน อุดรูรั่ว อุดช่องว่างให้หมด
- จุดสำคัญที่ต้องย้ำ เสี่ยงมากๆ และเชื้อเข้าหลักช่องทางนี้ คือ
ก.เล้าขาย(หรือการจับหมูขายขึ้นรถจับหมู)
ข.ประตูฟาร์ม คน-รถ-อุปกรณ์-อาหาร ขนเข้าออก
ค.การเชื่อมต่อ ระหว่างโซนเลี้ยงหมูกับโซนออฟฟิศ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.swinethailand.com/17082528/สรุปเรื่องที่น่าสนใจ-4-วิทยากรจากการสัมมนาวันที่-13-มีนาคม-2562-asf-the-disruption-of-asean-pig-industry
แหล่งที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ >> https://www.swinethailand.com/
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever)
ภาพจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) เป็นโรคระบาดในสุกรที่มีความรุนแรง และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสุกรทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นเนื่องจากไม่พบการระบาด ของโรคนี้ในประเทศไทย หากมีการระบาดเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร เป็นอย่างมากเพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ในการป้องกันโรค หลังจากมีรายงานการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรค ดังกล่าว เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ภายในภูมิภาค รวมถึงมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อน กับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค อีกทั้งมีความเสี่ยงจากคน เช่น สัตวแพทย์ นักวิชาการ ผู้ที่ไปศึกษาดูงานหรือทำงานในฟาร์มสุกรในประเทศที่มีการระบาดหรือมีความเสียงสูงที่จะมีการระบาดของ ASF ซึ่งหากเชื้อโรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดเข้ามาภายในประเทศ จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสุกรอย่างสูง นั้น
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และสร้างความเสียหายจากโรคดังกล่าว จึงมีการเตรียมแผนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และเเนวเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร รายละเอียดดังนี้
1. หากมีการเดินทางกลับจากประเทศที่พบการระบาดหรือประเทศที่มีความเสี่ยงของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้มีการพักร้อนอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม
2. ปฏิบัติตามการป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์มอย่างเข้มงวด
3. หากพบสุกรมีอาการสงสัยตามนิยามของโรคในฟาร์ม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> http://www.dld.go.th/th/images/stories/hotissue/asf/ContingencyPlanAndCPG.pdf
แหล่งที่มา : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
งาน VIV Asia 2019
VIV Asia สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีและสัมมนาสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์น้ำ อันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย ดำเนินการจัดงานมาถึงครั้งที่ 16 แล้วนับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โดยเป็นงานจัดแสดงสินค้าที่ครอบคลุมหลากหลายสปีชีย์ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี อีกทั้งเป็นงานจัดแสดงสินค้านานาชาติอันดับหนึ่งของเอเชียนับตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์จนถึงผลิตภัณฑ์อาหาร VIV Asia 2017ได้ก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มระดับโลกโดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดแสดงจากนานาชาติมากถึง 1,057 รายและมีผู้เข้าชมงานสูงถึง 45,952 คนจาก 127 ประเทศ โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2560 และมีผู้เข้าชมงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 27,758 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2558 จำนวน 21,723 คน
สำหรับปี 2562 นี้ จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจัดแสดงงานจะมากกว่า 1,250 ราย เต็มพื้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยมีผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่เกี่ยวกับ การผลิตเนื้อหมู ผลิตภัณฑ์จากนม สัตว์ปีก เนื้อวัว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ตลอดงานจะมีพาวิลเลี่ยนพิเศษเฉพาะกลุ่มุธุรกิจ เช่น สัตว์น้ำ เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม สุขภาพปศุสัตว์และอาหาร และวิศวกรรมอาหาร ซึ่งครอบคลุมห่วงโซ่อาหารทั้งหมด วิศวกรรมอาหาร เป็นโซนธุรกิจใหม่ทีถูกเน้นย้ำอย่างมากในปีนี้ เพราะเป็นขั้นตอนที่มีการเกี่ยวข้องกับกระบวนการการแปรรูปสัตว์ปีก ไข่ เนื้อแดง ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม นับเป็นจุดเด่นของงาน VIV Asia 2019 งาน VIV Asia ครั้งนี้จัดแสดงขึ้นที่กรุงเทพ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2562
และพิธีเปิดงานในครั้งนี้ คุณชยานนท์ กฤตยาเชวง นายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดงาน VIV Asia 2019 ด้วย
แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/vivasiapage
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นายพิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรราชบุรี และตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ อาทิ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบนเพื่อการค้า สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรชลบุรี จำกัด สหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ ราชบุรี จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรเพื่อการค้านครราชสีมา จำกัด ร่วมกันยื่นหนังสือคัดค้านการนำเข้าชิ้นส่วนสุกรสหรัฐฯถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่าน พล.ต.ท.ชินภัทร สารสิน ผู้ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เพื่อ ปกป้องความปลอดภัยทางอาหารของผู้บริโภคชาวไทยและอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร หลังสหรัฐฯอ้างเหตุขาดดุลการค้ากับไทย และหยิบยกประเด็นให้ไทยนำเข้าเนื้อสุกรสหรัฐฯขึ้นมาเจรจาอีกครั้ง
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากประเด็นการเร่งรัดแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาโดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐที่สร้างแรงกดดันทางการค้า ต่อสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พยายามให้ไทยรับชิ้นส่วนเนื้อสุกรที่ชาวอเมริกันไม่รับประทาน อาทิ เครื่องใน หัวหมู เพื่อระบายสินค้าเหลือทิ้งดังกล่าวมายังไทย โดยฟาร์มสุกรทั้ง 100% ของสหรัฐฯ มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง (แร็คโตปามีน) เนื่องจากใช้ได้อย่างถูกกฏหมาย ขณะที่สารดังกล่าวเป็นสารต้องห้ามตามบัญญัติในกฎหมายไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุข
“การใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสุกรในสหรัฐขัดต่อกฎหมายไทย ดังจะเห็นได้จากกรมปศุสัตว์ที่มีมาตรการเข้มงวดในการตรวจจับผู้ลักลอบใช้และลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง ขณะที่ทุกประเทศที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคจะห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในภาคปศุสัตว์ อาทิ สหภาพยุโรป รัสเซีย และจีน ดังนั้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องขอร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลไทย ยืนยันการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด เพื่อปกป้องประชาชนไทย ปกป้องเกษตรกรไทยและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเกษตรที่เป็นรากฐานและเสาหลักของประเทศ” นายสุรชัยกล่าว
สหรัฐฯ เป็นแหล่งผลิตสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงทั้งประเทศ ขณะที่ประเทศไทยประกาศห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2542 เพื่อความปลอดภัยในอาหารและสุขอนามัยของผู้บริโภค ประกาศดังกล่าวห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือยาในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ผสมอาหารสัตว์ทุกตัว (รวมทั้งแร็กโตปามีน) เนื่องจากสารดังกล่าวมีโทษต่อสัตว์และมนุษย์
ขณะเดียวกัน อาชีพการเลี้ยงสุกรช่วยสร้างความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกรไทยทั่วประเทศมาช้านาน และในกระบวนการผลิตสุกรของไทยนั้นมีพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่องกระทั่งสามารถผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ หากมีเนื้อสุกรจากสหรัฐฯเข้ามาอีกจะส่งผลให้ปริมาณสุกรล้นตลาดเกินความต้องการ ราคาสุกรจะตกต่ำลงส่งผลกระทบให้เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุน และล้มละลายไปดังที่ปรากฏให้เห็นแล้วในประเทศเวียดนามที่เปิดรับเนื้อสุกรสหรัฐฯ
“ไม่เพียงผู้เลี้ยงสุกรกว่า 2 แสนครอบครัวเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่จะมีผลเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปถึงเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งอุตสาหกรรมสูงถึง 80,000 ล้านบาท หากต้องล่มสลายเพราะสุกรสหรัฐฯบุกตลาดไทยแล้ว ย่อมต้องกระทบภาพรวมเศรษฐกิจของชาติ” นายสุรชัยกล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ https://www.prachachat.net/breaking-news/news-23859
สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2519 และในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย อยู่ในพระราชูปถัมภ์
งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017
เอกชนหนุนรัฐ ผลักไทยเป็นศูนย์กลางการค้าด้านเครื่องจักรและเครื่องมือเกษตรเอเชีย
ผู้เลี้ยง 6 ภาคเตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรั๊มป์ ขอให้ระงับการกดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดเนื้อสุกรจากสหรัฐเพื่อรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างพลเมืองของไทยและสหรัฐอเมริกา
ผู้เลี้ยง 6 ภาคเตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรั๊มป์ ขอให้ระงับการกดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดเนื้อสุกรจากสหรัฐเพื่อรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างพลเมืองของไทยและสหรัฐอเมริกา
8 พฤษภาคม 2561 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ - ผู้เลี้ยงสุกรทั่วไทย 6 ภาคเตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรั๊มป์ ขอให้ระงับการกดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดเนื้อสุกรจากสหรัฐเพื่อรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างพลเมืองของไทยและสหรัฐอเมริกา เพราะปี 2561 ครบรอบการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตครบ 200 ปี หลังเปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 พิธีไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย โดยใช้หัวหมูรวมจำนวน 4,247 หัว จะเป็นหน้าหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ของวงการสุกรไทย ที่มีพัฒนาการการเลี้ยงสู่ระดับโลก แต่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่จะต้องช่วยกันนำพากันสู่อาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ให้เป็นมรดกการทำกินตกทอดต่อกันไปชั่วลูกชั่วหลาน นอกเหนือจากการสร้างอาหารปลอดภัยให้ประชากรของชาติ
ความพยายามเปิดตลาดเนื้อสุกรสู่ประเทศไทยที่มีมากอย่างยาวนานของสหรัฐอเมริกา โดยอาจมองข้ามความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ จนอาจกลายเป็นการสร้างปมบาดหมางกันระหว่างพลเมืองของสองประเทศ ที่มีบริษัทข้ามชาติของสหรัฐมาประกอบธุรกิจและได้รับการอุดหนุนด้วยดีเสมอมากับพลเมืองของไทย
ในพิธีครั้งนี้นอกเหนือจากการไหว้สักการะและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านผู้นำภูมิภาค พร้อมกันนี้จะมีการหนังสือถึง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรั๊มป์ ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) สภาผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติสหรัฐ(NPPC) และท่านเอกอัครราชทูต กลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยด้วย โดยเน้นให้มองลึกถึงมิตรภาพและการไม่เปิดตลาดโดยมองข้ามความสัมพันธ์ที่ดีของพลเมืองทั้งสองประเทศ
เนื้อหาให้จดหมายภาษาอังกฤษจะเป็นดังนี้ :
เรียน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรั๊มป์
ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR)
สภาผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติสหรัฐ(NPPC)
ผ่าน ท่านเอกอัครราชทูต กลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทย ได้ติดตามความพยายามแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา และความพยายามช่วยเหลือการค้าเนื้อสุกรของเกษตรกรสหรัฐ โดยการเจรจากดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดเนื้อสุกรผ่านที่ประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา (TIFA JC) มาเป็นระยะหลายปี
ข้าพเจ้าขอแนะนำให้รู้จักกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยที่มีผลผลิตสุกรท่วมท้นเกินกว่าความต้องการการบริโภคภายในประเทศประมาณกว่าร้อยละ 5 ในแต่ละปี และไม่ปรากฏว่าขาดแคลนผลิตภัณฑ์จากสุกรแต่ประการใดในทุกๆ ปี หลายสิบปีที่ผ่านมาผู้เลี้ยงสุกรไทยและภาครัฐร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรเพื่อการเป็นอุตสาหกรรมเลี้ยงชีพของพลเมืองไทย โดยดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ อาหารสัตว์ การจัดการสุขภาพสัตว์ เพื่อเกษตรกรของประเทศและอาหารปลอดภัยของประชากรไทย
อุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั่วโลกเป็นเสาหลักของการบูรณาการการเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์โดยเป็นห่วงโซ่อุปทานของทั้งต้นน้ำและปลายน้ำตามลำดับ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมสุกรและเนื้อสุกรของสหรัฐและการส่งออกที่สร้างมูลค่าเพิ่มต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกรรมพืชอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ และเป็นการสร้างผลบวกต่อดุลการค้าของประเทศ ซึ่งห่วงโซ่อุปทานการเลี้ยงสุกรของไทยก็เป็นไปในลักษณะเดียวกับอุตสาหกรรมสุกรของโลก
บริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันจำนวนมากเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยและได้รับการต้อนรับและสนับสนุนด้วยดีจากคนไทยซึ่งกว่าร้อยละ 25 เป็นประชากรจากภาคเกษตรกรรมที่รวมไปถึงประชากรที่อยู่ในภาคปศุสัตว์ เช่น อุตสาหกรรมสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ฯลฯ
ถ้ารัฐบาลสหรัฐยังคงกดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากสหรัฐ แน่นอนว่าเป็นผลดีต่อสภาผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติของสหรัฐและผู้เลี้ยงสุกรสหรัฐ ซึ่งมันจะเป็นภัยพิบัติต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยและกระทบต่อเนื่องไปถึงเกษตรกรพืชอาหารสัตว์อื่นๆ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นช่องทางทำมาหากินของคนไทย จากการเสียเปรียบในด้านการแข่งขัน กับ สหรัฐที่เป็นผู้ส่งออกเนื้อสุกรรายใหญ่ที่สุดของโลก
การแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าจำเป็นที่จะต้องขยายการส่งออกแต่ไม่ใช่กระทำการในลักษณะทำลายล้างมนุษยชาติด้วยกัน เพราะว่าการเกษตรเป็นการเลี้ยงชีพพื้นฐานของมนุษยชาติ ฝากให้ท่านพิจารณาด้วยว่ามนุษยธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้าใจระหว่างประเทศ
ผู้เลี้ยงสุกรไทยขอแนะนำสหรัฐว่าควรหยุดเจรจากดดันรัฐบาลไทยให้เปิดตลาดเนื้อสุกรส่งออกมายังประเทศไทยที่มีผลผลิตมากอย่างท่วมท้นเกินกว่าความต้องการการบริโภคภายในประเทศ ในขณะที่มีการคัดค้านต่อเนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรไทย ผู้เลี้ยงสุกรไทยใคร่ขอให้ตระหนักบนพื้นฐานของมิตรภาพระหว่างพลเมืองสหรัฐอเมริกากับพลเมืองของไทย
ข้อมูลจาก : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย